{ เว็บบลอกสนับสนุนการเรียนรู้วิชา ARTD3302 การออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ โดยนางสาวนันท์นภัส สมพุ่มพุฒของท่าน ผศ.ประชิด ทิณบุตร }


วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนครั้งที่ 9 - (20.10.2014)


เริ่มทำงานวิจัย ศึกษา Proposal เพิ่มเติมได้ที่ issuu ของท่านผศ.ประชิด ทิณบุตร (ซึ่งคีย์เวิร์ดในการเสิร์จคือ คำว่า วิสาหกิจชุมชน หรือ โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์
นอกจากนั้นยังมีเว็บไซต์ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และที่ Art Thesis สาขาวิชาศิลปกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม โดยในการทำนั้น ต้องมีแหล่งเอกสารอ้างอิง 10 แหล่งด้วยกัน

ให้นักศึกษาประเมินผลการเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มเรียน จนกระทั่งถึง Midterm สามารถติชมท่านอาจารย์ผู้สอนได้ตามความเป็นจริง โดยดิฉันได้มีการนำเสนอลงบลอกแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2014  






HOMEWORK
งานต่อจาก Midterm คือ ศึกษาผลิตภัณฑ์ตัวเดิมเพื่อเป็นคู่แข่ง ว่ามันสามารถนำไปแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง โดยยึดจากส่วนผสมหลัก

สรุปผลการเรียนครั้งที่ 8 - (13.10.2014) - Midterm






ผลงานที่ดับกลิ่นสมุนไพร 'บ้านคลองมอญ' กลิ่นมะกรูด 
จัดแสดงผลงานทั้งหมดที่ทำมาตลอดทั้งเทอม
รายละเอียดผลงาน สามารถเข้าชมได้ที่ ส.1 / ส.2 / ส.3



สรุปผลการเรียนครั้งที่ 7 - (29.09.2014)


ทบทวนงานที่ต้องส่งกลางภาคทั้งหมด
เพิ่มชิ้นงานจากโปรแกรม sketch up เข้าไป สร้างขึ้นเป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมอบหมาย
สอนวิธีการสร้าง Logotype ในโปรแกรม Ai ซึ่งควรทำมากกว่าสองแบบที่แตกต่างทั้งด้านสี การจัดวาง เพื่อให้ลูกค้ามีสิทธิ์เลือก, สอนการขึ้นแบบในโปรแกรม sketch up 


เริ่มต้นโปรแกรม sketch up





สรุปผลการเรียนครั้งที่ 6 - (22.09.2014)



ศึกษาเกี่ยวกับ barcode หรือ รหัสแท่ง ประกอบด้วยเส้นสีดำและเส้นเว้นสีขาว จัดวางเรียงกันในแนวตั้ง ซึ่งเป็นรหัสแทนตัวเลขละอักษร ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลผ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้ง่ายขึ้น มีความรวดเร็วและลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก เราจะพบเจอบาร์โค้ดได้ในสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหากรรมทั้งเล็กและใหญ่

HOMEWORK 
ในวันที่ 6 ตุลาคม - 12 ตุลาคม 2014 เป็นสัปดาห์สอบกลางภาค งดการสอน
ส่งงานมิดเทอมในวันที่ 13 ตุลาคม 2014

สรุปผลการเรียนครั้งที่ 5 - (15.09.2014)



 มีการเพิ่มเติมแนวความคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เริ่มต้นที่ ' หาจุดอ่อนของแบรนด์ เพื่อสร้างจุดแข็งให้เขาซื้อดีไซน์เรา -ท่านผศ.ประชิด ทิณบุตร ' ดูความมากน้อยของต้นทุนที่แบรนด์เดิม เพื่อจะได้ออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการ ศึกษาว่าสิ่งที่มีการเน้นย้ำในตัวบรรจุภัณฑ์เดิมคืออะไร ให้ดึงเป็นจุดหลัก เพราะนั่นหมายวามว่าผู้ประกอบให้ความสำคัญกับสิ่งนั้น

    การตั้งชื่อแบรนด์สินค้า กรณีที่ผู้ประกอบการไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง และอนุญาตให้นักศึกษาออกแบบได้ ชื่อที่ควรนำมาตั้งควรมาจากนามสกุลหรืกลุ่มผู้ดำเนินการขนาดใหญ่ เช่น ผู้ประกอบการชื่อคุณสินมงคล อินธนู มีกลุ่มทำสมุนไพรชื่อบ้านคลองมอญ ในการทำโลโก้ขึ้นมา เราอาจยึดจากชื่อ'อินธนู' หรือ'บ้านคลองมอญ' เป็นต้น

   การเลือกใช้ฟอนต์ ควรคำนึงถึงลิขสิทธิ์เป็นอย่างมาก ในปัจจุบันมีเว็บซต์ที่ให้การดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย(f0nt) เราสามารถนำมาตัดทอน ดัดแปลง เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ลงไป ก่อให้เกิดงานใม่ที่อยู่ในรูปของ ได้เช่นกัน ( Logotype หมายถึง สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ตัวแทน ที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษรเกินกว่า 80% )


♦ ให้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SWOT ที่หมายถึงการวิเคราะห์สภาพองค์กร โดยคำว่า SWOT เป็นการรวมตัวย่อของคำที่มีความหมายแตกออกไป ดังนี้
S - Strengths (จุดแข็ง)
W - Weaknesses (จุดอ่อน)
O - Opportunities (โอกาส)
T - Threats (อุปสรรค)
สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ นายเสบียงปัญญา




HOMEWORK

สร้างโครงของบรรจุภัณฑ์ได้ที่ Template Maker 2 รูปแบบ ใส่ข้อมูลจริงทุกอย่าง ปริ้นท์ลงกระดาษที่เหมาะสมกับชิ้นงาน พร้อมทั้งตรวจไฟล


สรุปผลการเรียนครั้งที่ 4 - (8.09.2014)


ศึกษาเรื่องการสร้าง Mindmaps
 จัดระบบงานใน Google Drive และการตั้งชื่อไฟล์รูปที่ถูกต้อง
 ทำใบงานใน claroline.info
♦ ' อย่ากลัวในการไถ่ถามวิชาจากอาจารย์ ให้กลัวไม่รู้เสียดีกว่า - ท่านผศ.ประชิด ทิณบุตร '